ความเสื่อมทางด้านการเมือง รัฐประหาร

สำหรับการรัฐประหารนั้นหลายคนก็ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ว่ารัฐประหารนั้นเป็นอย่างไร มีความสัมพันธ์และสำคัญต่อระบบการปกครองประเทศและเกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างเราอย่างไร ซึ่งจะบอกว่าระบบรัฐประหารนี้เรียกว่าสำคัญกับประเทศของเราอย่างมาก เพราะมันเป็นการกระทำในลักษณะของคอมมิวนิสต์คือเป็นการใช้อำนาจเพื่อยึดหรือล้มล้างระบบการปกครองใดปกครองหนึ่งที่ได้ปกครองมาก่อนหน้านี้แล้วเข้ามาควบคุมแทน โดยในการรัฐประหารนี้ก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ายึดด้วยการใช้อำนาจทางการเมือง หรือเป็นการเข้ายึดโดยใช้กำลังเข้าต่อสู้และบังคับขู่เข็ญด้วยความไม่เต็มใจ ซึ่งลักษณะการรัฐประหารนี้เรียกได้ว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับกฎของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก และถือว่าเป็น ความเสื่อมทางด้านการเมือง ก็ว่าได้  ในการรัฐประหารนั้นหากมีการรัฐประหารสำเร็จก็จะได้ปกครองประเทศ แต่หากทำการรัฐประหารไม่สำเร็จก็จะถูกจับดำเนินคดีในฐานะกบฏนั่นเอง ในประเทศไทยเองนั้นก็เกิดการรัฐประหารขึ้นหลายครั้งอยู่ทีเดียว วันนี้เราจะพามารู้จักคำว่ารัฐประหารและการรัฐประหารในประเทศไทยให้ดีขึ้น จะเป็นอย่างไรตามเรามากันเลย

ความเสื่อมทางด้านการเมือง ความหมายของคุปเดตา

การทำรัฐประหารนั้นไม่ได้มีแต่เพียงในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังมีอีกหลากหลายประเทศทั่วโลกที่เกิดขึ้น โดยการรัฐประหารในต่างประเทศนั้นมีคำเรียกโดยเฉพาะว่าคุปเดตา (Coup d’etat)   ซึ่งคำๆนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศสโดยเป็นการรวมกันของคำสองคำ มีความหมายถึงการล้มล้างระบอบรัฐอย่างเฉียบพลัน ซึ่งรูปแบบของการทำรัฐประหารนั้นส่วนมากมักจะใช้อำนาจและความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง  การเกิดรัฐประหารขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นเรียกได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงความเสื่อมทางด้านการเมือง เนื่องจากประเทศที่มีความเจริญหรือพัฒนาแล้วโดยใช้การปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์ การทำรัฐประหารนั้นส่วนมากมักจะไม่เกิดขึ้นหรือหากเกิดขึ้นก็จะไม่สามารถทำได้สำเร็จ  ซึ่งในการพยายามเปลี่ยนแปลงคณะการปกครองหรือคณะรัฐบาลนั้นส่วนมากมักเกิดจากกองทัพหรือกองกำลังที่เข้ามาทำการบุกยึดอย่างรวดเร็ว หากทำไม่สำเร็จก็จะเป็นการทำผิดกฏหมายหรือกลายเป็นกบฏตามที่เราได้บอกไปข้างต้น แต่หากสามารถทำได้สำเร็จกลุ่มนี้ก็จะเข้ามามีอำนาจและมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและสิ่งต่างๆเพื่อให้การกระทำของตนเองที่ทำไปนั้นไม่ผิดกฎหมาย โดยการทำรัฐประหารนั้นจะเปลี่ยนแปลงคณะการปกครองหรือคณะรัฐบาล แต่ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์เสมอไป อาจจะยังใช้ระบบประชาธิปไตยอยู่เช่นเดิม แล้วแต่อุดมการณ์ของผู้ที่เข้าทำการรัฐประหารนั้น

การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ประเทศไทยนั้นมีการก่อรัฐประหารเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง แต่ในการก่อรัฐประหารนั้นก็จะใช้คำว่าเป็นคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปเพื่อให้มีความรู้สึกว่าการกระทำนั้นมีความหมายไปในเชิงบวก  ซึ่งการทำรัฐประหารในไทยนั้นส่วนมากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงคณะการปกครองหรือคณะรัฐบาลในขณะนั้น จะไม่ได้เปลี่ยนระบบการปกครองแต่อย่างใด มีการเปลี่ยนเพียงครั้งเดียวคือการเปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ  โดยส่วนมากการทำรัฐประหารในไทยนั้นจะเกิดขึ้นจากกองทัพบกแทบทุกครั้ง เคยมีการพยายามก่อรัฐประหารจากกลุ่มกองทัพเรือแต่ไม่สำเร็จทำให้กองทัพเรือนั้นเรียกได้ว่าสูญเสียอำนาจในทางการเมืองไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกองทัพบกจึงค่อนข้างมีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดในบรรดาเหล่าทัพ โดยไทยนั้นมีการเกิดการรัฐประหารขึ้นมาแล้วถึง 13 ครั้ง  ตั้งแต่ครั้งแรกในปีพ.ศ.2476  จนกระทั่งถึงปัจจุบันซึ่งมีการเกิดรัฐประหารในปีพ.ศ.2557 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  ซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่จนถึง ณ ปัจจุบัน